top of page
1. ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก

กราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก

 

             ความหมายของกราฟฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

 

            กราฟิก  มาจากภาษากรีก ซึ่งหมายถึง การวาดเขียน (Graphikos) และการเขียน (Graphein) กราฟิก จึงหมายถึงศิลปะหรือศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่สื่อความหมายโดยใช้เส้น ภาพเขียน สัญลักษณ์ ภาพถ่าย ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน เข้าใจความหมายได้ทันที และถูกต้องตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ

 

            คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ การตกแต่งแก้ไขภาพ หรือการจัดการเกี่ยวกับภาพ เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ การตกแต่งภาพถ่าย การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายให้ชัดเจนและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพหรือกราฟ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการศึกษา งานด้านธุรกิจ งานด้านการออกแบบ งานด้านบันเทิง หรืองานด้านการแพทย์ เป็นต้น

Quarterly Goal Planner in Green.png
2. ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก

กราฟิก (Graphic)

  1. การสื่อความหมายด้วยการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ ภาพถ่าย และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะ และศาสตร์  เข้ามาช่วย เพื่อให้ผู้ดูเกิดความคิดและ  ตีความหมายได้ตรงตามที่สร้างสรรค์ต้องการสื่อ เช่น แผนภูมิ แผนภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น

  2. รูปแบบการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ศิลปะมาเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสัญลักษณ์ ที่เข้าใจได้ง่าย และตรงกันระหว่างผู้สื่อสาร กับผู้รับสาร

 คอมพิวเตอร์กราฟิกส์

   คือ กราฟิกส์ที่นำคอมพิวเตอร์มาดำเนินการ ตั้งแต่การเตรียมการ ออกแบบ นำเสนอ ใช้งาน

   งานกราฟิก จึงมีความสำคัญ คือ

       - เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย 

       - เกิดการเรียนรู้ การศึกษา 

       - เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือ 

       - กระตุ้นความคิด 

       - ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 

       - ส่งเสริมความก้าวหน้าทางความคิด

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิกส์
ace438e58ab6e78cf00dcfd0941aa591.jpg

ปี พ.ศ 2492 Massachusetts Institute of Technology สร้างระบบเตือนภัยทางอากาศ ชื่อระบบ Whirlwind

     

        -  เป็นการรวมอุปกรณ์เรดาร์ และ คอมพิวเตอร์ ใช้งานร่วมกันโดยปากกาแสงเป็นอุปกรณ์นำเข้า

        -  จากความสำเร็จในงานวิจัยนี้ทำให้มีระบบเตือนภัยอื่นๆตามมา 

          เช่น  เครื่อง SAGE   (Semi Automation Ground Environment )

        - ประกอบด้วยจอภาพวงกลมขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหน่วยแสดงผลข้อมูล

        - มีลักษณะการทำงานเป็นแบบ Real – time เครื่องแรก

        - ใช้ป้องกันน่านฟ้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

        - ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์  (RAS) ไปยังศูนย์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป

        - OS ในปัจจุบัน -> Windows NT, 2000 มี sage อยู่

2492

ปี พ.ศ 2506 หนึ่งในทีมผู้บริหารผู้ปฏิบัติการณ์ บริษัทซัน
 
คือ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ อีวาน ซูเธอร์แลนด์ (Ivan Sutherland) เป็นการพัฒนาระบบการวาดเส้น ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดจุดบนจอภาพได้โดยตรง โดยการใช้ปากกาแสง จากนั้นระบบกราฟิกจะสามารถลากเส้นเชื่อมจุดต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นภาพโครงสร้างรูปหลายเหลี่ยม ระบบนี้ได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานของโปรแกรมช่วยในการออกแบบระบบงานต่างๆ เช่น การออกแบบระบบไฟฟ้า และการออกแบบเครื่องจักร เป็นต้น ในระบบหลอด ภาพ CRT สมัยแรกนั้น เราสามารถวาดเส้นตรงระหว่างจุดสองจุดบนจอภาพได้ แต่ภาพเส้นที่วาดจะจางหายไปจากจอภาพอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการวาดซ้ำ
ลงที่เดิมหลายๆ ครั้งในหนึ่งวินาที เพื่อให้เราสามารถมองเห็นว่าเส้นไม่จางหายไป
                - ปลายปากกาจะมี photo electric cell

                - เกิดแสงอิเล็กตรอนเมื่อปืนอิเล็กตรอนยิงลำแสงมากระทบกับฟอสเฟอร์

2506

EbYGZ0uWsAUCFKF (1).jpg

      ปี พ.ศ 2512  สมาคมนักคอมพิวเตอร์ ชื่อ Special Interest Group on Computer Graphics 

        - จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม และ แลกเปลี่ยน ข่าวสาร เกี่ยวกับงานวิจัย และคอมพิวเตอร์กราฟิกส์

  

      ปี พ.ศ 2513   Pierre Bezier วิจัยและพัฒนา การเขียนเส้นโค้ง เรียกว่า "Bezier Curve"
         -  มักจะพบในโปรแกรม application ได้แก่ flash, Autocad

      ปี พ.ศ 2514  Gouraud  วิจัยและพัฒนาการระบายสี เรียกว่า "Gouraud  Shading"

      ปี พ.ศ 2517   Ed Catmull จากมหาวิทยาลัยยูทาร์ วิจัยและพัฒนา Z-buffer และ Textute Mapping  

         -  สร้าง algorithm เพื่อทำการเก็บความลึกของวัตถุ 3 มิติ

      ปี พ.ศ 2518  Bui-Toung Phong   จากมหาวิทยาลัยยูทาร์ วิจัยและพัฒนา การระบายสีวัตถุสามมิติ เรียกว่า  "Phong Shading" 

      และ  Martin Newel  จากมหาวิทยาลัยยูทาร์ วิจัยและพัฒนา วัตถุสามมิติ  กาน้ำชา เรียกว่า "Teapot" 

                  -   Teapot เป็นโมเดลมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์

       ปี พ.ศ 2519   Jim Blinn วิจัยและพัฒนาการแม็บภาพ เรียกว่า "Bump Mapping"

       ปี พ.ศ 2522   Turmer Whitted  วิจัยและพัฒนาการเรนเดอร์แบบใหม่ เรียกว่า "Ray Teacing" 

 

                    -  เป็นเทคนิคในการติดตามลำแสง เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ ในเรื่องของการสะท้อนแสง

                    -  เทคนิคนี้จะได้ภาพที่สวยงามกว่าสมัยก่อนเป็นอย่างมาก

                    -  ถูกใช้ในโปรแกรม แพ็กเกจมากมาย เช่น 3D Studio Max

        ปี พ.ศ 2528   Donald Greenberg วิจัยและพัฒนาการระบบเรนเอดร์แบบใหม่ใช้หลักการเปล่งคลื่นพลังงานทางฟิสิกส์               เรียกว่า "Radiosty"

                    -  ใช้หลักการเปล่งคลื่นพลังงานแทน
                    -   ภาพจะให้ความสมจริงและความสวยงามมาก
                    -  โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้เทคนิคนี้ก็ได้แก่ Maya

    

 

         ปี พ.ศ 2533   เป็นต้นมา...  วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ

                     -  ระบบ Interactive Environment
                     -   วิชวลไลเซซัน

                     -   ภาพศิลปะจากการเรนเอดร์

2512

2513

Quadratic-Bezier-curve-for-shape-reconst

2514

Gouraud-Shading-Group-Left-and-Phong-Sha

2517

2518

digit-lighting-model.png

2519

maxresdefault.jpg

2522

qS8o8LXKrVRhVkmf2AS6u6.jpg

2528

1658644809_f36e0e4042_b.jpg
unnamed (1)1.jpg

2533

การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในปัจจุบัน

Motion Capture 

 

Motion Capture หรือเรียกสั้นๆว่า Mocap เป็นเทคโนโลยีทีใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว ถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพยนตร์ การ์ตูนสามมิติ หรือเกมสามมิติ 

โดยใช้ตัวเซ็นเซอร์ติดตามร่างกายของนักแสดง เพื่ออ่านและแปรค่าความเคลื่อนไหวเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ทำให้ตัวละครสามมิติที่สร้างขึ้นสามารถแสดงท่าทางได้อย่างนุ่มเนียน สมจริง และมีความหลากหลายของอิริยาบถทั้งร่างกายและใบหน้า เรียกได้ว่าเครื่อง Mocap นี้ช่วยเติมเต็มจินตนาการของผู้สร้างงานสามมิติหรือแอนิเมชั่นต่างๆ อย่างหนังฮอลลีวู้ดหลายต่อหลายเรื่องที่ทำให้ทึ่งในความสมจริงของตัวละครแอนิเมชั่นกันมาแล้ว เช่น The Lord of the Rings, King Kong, Final Fantasy, I-Robot เป็นต้น

mocap2.jpg
Human-action-and-emotions-–-Motion-Captu
3. ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิก

ในปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้ในงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้แสดงผลงานด้วยภาพแทนการแสดงด้วยข้อความ ซึ่งช่วยให้เข้าใจได้ง่าย และน่าสนใจมากกว่า หลายหน่วยงานเลือกใช้วิธีนี้สำหรับแนะนำหน่วยงาน เสนอโครงการและแสดงผลงาน 

 

             1.   ใช้แสดงแผนที่ แผนผัง และภาพของสิ่งต่างๆ ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่สามารถแสดงในลักษณะอื่นได้ นอกจากการแสดงด้วยภาพเท่านั้น 

 

              2.  ใช้ในการออกแบทางด้านต่างๆ เช่น ออกแบบบ้าน รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า และเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ ซึ่งสามารถทำได้รวดเร็วสวยงามและประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะงานออกแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเพื่อเปรียบเทียบหาแบบที่เหมาะสมที่สุด การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกจะช่วยให้เกิดความสะดวก และทำได้รวดเร็วมาก 

ผังโรงเรียน264.jpg
C06.jpg

ได้มีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาช่วยทางการด้านเรียนการสอน โดยเฉพาะในวิชาที่ต้องใช้ภาพ แผนผัง หรือแผนที่ประกอบ บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถแสดงภาพส่วนประกอบและการทำงานของเครื่องยนต์ หรือเครื่องมือที่มีความสลับซับซ้อนให้เห็นได้ง่ายขึ้น

          
               คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการจำลองสถานการณ์เพื่อหาคำตอบว่า ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ใช้ทดสอบว่าถ้ารถยนต์รุ่นนี้พุ่ง เข้าชนกำแพงด้วยความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเกิดความเสียหายที่บริเวณไหน ผู้โดยสารจะเป็นอย่างไร การจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยให้ทราบผลได้รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ทำให้เกิดอันตราย 

 

                คอมพิวเตอร์กราฟิกสามารถนำมาสร้างภาพนิ่ง ภาพสไลด์ ภาพยนต์ และรายการวิดีโอ ได้มีภาพยนต์แนววิทยาศาสตร์หลายเรื่องใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกสร้างฉากและตัวละคร ซึ่งทำให้ดูสมจริงได้ดีกว่าการสร้างด้วยวิธีอื่น 

maya.jpg
181116.jpg

คอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีผู้รู้จัก และนิยมใช้กันมากคงจะได้แก่ เกมส์คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้คงมีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่ไม่เคยเห็นหรือรู้จักเกมส์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้เกมส์สนุกและน่าสนใจก็คือ ภาพของฉากและตัวละครในแกมซึ่งสร้างโดยคอมพิวเตอร์กราฟิก

 

1_uE2zkgCE4-5obgv-fP2Bbg.jpeg
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับโปรแกรมกราฟิก
  1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี CPU ความเร็วระดับ 400 MHz ขึ้นไป

  2. ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows

  3. หน่วยความจำ (RAM) 1 GB ขึ้นไป

  4. Hard Disk ความเร็ว 72,000 รอบ/นาที ความจุ 10 GB ขึ้นไป

  5. Monitor 17 นิ้วขึ้นไป VGA Card แสดงผลได้ 256 สีขึ้นไป

  6. CD ROM

 

4708ac0a67aa83d05ca8cad106043417.jpg
5. ประเภทของกราฟิก

ประเภทของภาพกราฟิก
           ประเภทของภาพกราฟิก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

            ภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ

            เป็นภาพกราฟิกที่มีแต่ความกว้างและความยาว แต่จะไม่มีความหนาหรือความลึก ได้แก่ ภาพสามเหลี่ยม ภาพสี่เหลี่ยม ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพวาด เป็นต้น โดยทั่วไปเรียกภาพกราฟิกประเภท 2 มิติว่า ภาพร่าง 

             ภาพกราฟิกประเภท 3 มิติ

             เป็นภาพที่เกิดจากการใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ ภาพที่ได้จะมีลักษณะเหมือนภาพที่มองจากตาคน โดยภาพกราฟิกประเภท 3 มิติจะมีส่วนโค้ง เว้า มุม แสง ความลึก และรายละเอียดที่สูงขึ้นจากภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ มีลักษณะการมองภาพที่เหมือนจริง 

           ความแตกต่างของภาพกราฟิก 2 มิติแบบราสเตอร์และแบบเวคเตอร์ 

                                      

                                  ความแตกต่างของภาพกราฟิก 2 มิติ แบบราสเตอร์และเวคเตอร์  ดังแสดงในตารางที่ 1.1

 

ท้องฟ้า

                        ภาพกราฟิก 2 มิติแบบราสเตอร์                                                                                                 

      ภาพกราฟิก 2 มิติแบบเวคเตอร์

  1. เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่าพิกเซล (Pixel)  โดยจะเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่ง จนเกิดเป็นภาพในลักษณะ ต่าง ๆ 

  2.  การขยายภาพจะมีการเพิ่มจำนวนจุดของภาพ ทำให้ความละเอียดลดลง มองเห็นภาพเป็นแบบจุด คุณภาพของภาพนั้นสูญเสียไป 

  3. การตกแต่งและแก้ไขภาพสามารถทำได้ง่ายและสวยงาม มีความเหมือนจริง เช่น การลบรอยตำหนิบนภาพเพื่อให้ ภาพดูสวยงามขึ้น 

  4. การประมวลผลภาพสามารถทำได้รวดเร็ว

 

ท้องฟ้า

                            ภาพกราฟิก 2 มิติแบบเวคเตอร์                                                                                                              ภาพกราฟิก 2 มิติแบบเวคเตอร์

  1. เป็นการประมวลผลโดยอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ มีสีและตำแหน่งของสีที่แน่นอนภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน 

  2.  เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพ (Resolution)    จะไม่ลดลง ยังคงรายละเอียดและความชัดเจนของภาพไว้เหมือนเดิม 

  3. นิยมใช้กับงานด้านสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และงานด้านการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบการ์ตูน 

  4. การประมวลผลภาพใช้เวลานานเนื่องจากใช้คำสั่งในการทำงาน

 

6. อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูลที่ใช้กับคอมพิวเตอร์กราฟิก

อุปกรณ์นำเข้า (Input Devices) 

สแกนเนอร์ (Scanner)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่าน หรือสแกนข้อมูลหรือภาพถ่ายบนเอกสารเข้าไปในเครื่อง โดยใช้แสงส่องกระทบวัตถุให้สะท้อนไปตกบนตัวรับแสงทีละแถว ซึ่งข้อมูลจะถูกแปลงเป็นจุดเล็กๆ ในแบบดิจิตอลเข้าไปเก็บในเครื่องพีซี เมื่อต้นกำเนิดแสงและตัวรับแสงเลื่อนไป ภาพที่ได้จะเป็นส่วนต่าง ๆ ของภาพ ต่อเนื่องกันไปทีละแถวของจุดจนกว่าจะสุดภาพ

กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
เราสามารถถ่ายภาพในรูปแบบดิจิตอล ที่มีความละเอียดสูงโดยตรงจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอล ถึง 3-4 ล้านพิกเซลขึ้นไป ซึ่งเหมาะกับการใช้งานกราฟิก

จอสัมผัส (Touch Screen)
เป็นหน้าจอที่ยอมให้ผู้ใช้ใช้นิ้วชี้ที่หน้าจอ เพื่อเลือกเมนูบนหน้าจอได้ งานที่นิยมใช้หน้าจอแบบทัชสกรีน เช่น เครื่อง ATM (Automate Teller Machines), ร้านขายยา, และซูเปอร์มาร์เก็ต

ปากกาแสง (Light Pen)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่ทำงานด้วยการตรวจจับแสงบนหน้าจอ CTR ของคอมพิวเตอร์ ใช้ในการคลิกเลือก และวาดบนหน้าจอเหมือนการใช้ Touch Screen แต่จะทำงานด้วยการตรวจจับแสงซึ่งใช้กับจอ CTR เท่านั่น ไม่สามารถทำงานกับจอ LCD หรือ Projector ได้

กระดานกราฟิก (Graphics Tablet)
เป็นอุปกรณ์ที่รองรับการวาดภาพ ซึ่งสามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง สนับสนุนกับโปรแกรมกราฟิกต่างๆ เช่น Photoshop, Illustrator เป็นต้น จึงทำให้เราสามารถวาดภาพ และแก้ไขภาพได้ ซึ่งจะแสดงผลเป็นภาพอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นหน้าจอ TFT เหมือนเครื่อง Tablet PC ซึ่งเราสามารถวาดภาพอยู่บนหน้าจอแสดงผลได้โดยตรง

อุปกรณ์ในการแสดงผล (Output Devices) 

เครื่องพิมพ์ (Printer)
เครื่องพิมพ์ที่ใช้แสดงผลงานลงบนกระดาษได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ ปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบเพื่อการนำไปใช้งานต่างกัน ดังนี้

เลเซอร์พรินเตอร์
ทำงานโดยการยิงลำแสงเลเซอร์ เพื่อจัดเรียงผงหมึกให้เกิดเป็นภาพที่ต้องการ จากนั้นก็ใช้แรงดันและความร้อนผลักให้หมึกจับตัวติดกับเนื้อกระดาษ ผลลัพธ์จะมีความละเอียดมากที่สุด และมีความเร็วสูงสุดในบรรดาเครื่องพิมพ์ทั้งหมด เครื่องพิมพ์เลเซอร์มี 2 แบบ คือ ขาว/ดำ และสี ซึ่งแบบขาว/ดำ จะมีราคาอยู่ที่หมื่นกว่าบาท นิยมใช้ในงานพิมพ์เอกสารในสำนักงาน ส่วนแบบสีจะมีราคาอยู่ที่แสนกว่าบาท ซึ่งเหมาะกับงานกราฟิกชั้นสูง

อิงค์เจ็ตพรินเตอร์ (Inkjet Printer)
ใช้หลักการพ่นหมึกผ่านทางท่อพ่นหมึกเล็ก โดยให้เกิดจุดสีเล็กๆ เรียงต่อกันจนเกิดเป็นภาพ จะมีความละเอียดน้อยกว่าเลเซอร์นิดหน่อย ราคาเครื่องถูก แต่หมึกแพง และพิมพ์ช้ากว่าเลเซอร์จะเหมาะสำหรับงานสี อาร์ตเวิร์ค สิ่งพิมพ์ และถ่ายสติ๊กเกอร์ หากจะใช้พิมพ์งานเอกสารสำนักงานทั่วไปที่เป็นสีขาวดำ ราคาหมึกต่อแผ่นจะสู้ใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์ไม่ได้ อีกทั้งความละเอียด และความเร็วน้อยกว่ามาก

ดอตเมทริกซ์พรินเตอร์ (Dot Matrix Printer)
จะใช้หัวเข็มกระแทกลงบนแผ่นหมึกคาร์บอน ทำให้เกิดรอยหมึกเป็นข้อความและภาพ ดอตเมทริกซ์เป็นพรินเตอร์ที่มีความละเอียดต่ำ ราคาหมึกถูก ราคาเครื่องปานกลาง แต่พิมพ์ช้าและมีเสียงดัง ไม่ค่อยนิยมใช้ในปัจจุบัน แต่มีประโยชน์ในด้านการทำกระดาษไขสำหรับงาน โรเนียวเอกสารและการพิมพ์โดยซ้อนกระดาษ Carbon (แต่ยังมีการใช้งานอยู่เป็นจำนวนมากในหน่วยงานราชการทั่วไป)

พล็อตเตอร์ (Plotter)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วาดภาพบนกระดาษ โดยการรับคำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่จะทำงานแตกต่างจากพรินเตอร์ตรงที่พล็อตเตอร์จะวาดภาพโดยการวาดเป็นเส้น ด้วยปากกาแต่ละสีวาดผสมกัน ส่วนเครื่องพิมพ์จะพิมพ์ลงมาเป็นจุดสีคละกันทำให้เรามองดูเกิดเป็นภาพ เราจะใช้พล็อตเตอร์ในการวาดแบบอาคาร หรือแบบทางวิศวกรรม ที่ถูกสร้างด้วยโปรแกรมออกแบบต่างๆ

bottom of page