



อินทรวิเชียรฉันท์ 11
จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี 11 แต่เพิ่ม ครุ, ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่าสายฟ้าของพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย
วรรคหน้ามี 5 คํา วรรคหลังมี 6 คํา รวม 2 วรรค เป็น 1 บาท นับ 2 บาท เป็น 1 บท คําที่ 3 ของวรรคหน้ากับคําที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ 2 รับสัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ 3 แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคําสุดท้ายของวรรคที่ 1 กับคําที่ 3 ของวรรคที่ 2 เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช)แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ 1 กับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2 อย่างเดียวกับกาพย์ยานี 11 เพราะถือว่าไพเราะ
คำครุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
คำครุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนไม้หันอากาศ แทน
คำลหุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะตัวเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ 11
พึงมรรยาทยึด สุประพฤติสงวนพรรค์
รื้อริษยาอัน อุปเฉทไมตรี
ดั่งนั้นณหมู่ใด ผิบไร้สมัครมี
พร้อมเพรียงนิพัทธ์นี รวิวาทระแวงกัน
แผนผังฉันท์ชนิดต่างๆ








