top of page
e0b884e0b893e0b8b0e0b889e0b8b1e0b899e0b8
indharavichien11-1.jpg

อินทรวิเชียรฉันท์ 11    

จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี 11  แต่เพิ่ม ครุ,  ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่าสายฟ้าของพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย

วรรคหน้ามี 5 คํา วรรคหลังมี 6 คํา รวม 2 วรรค เป็น 1 บาท นับ 2 บาท เป็น 1 บท คําที่ 3 ของวรรคหน้ากับคําที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ 2 รับสัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ 3 แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคําสุดท้ายของวรรคที่ 1 กับคําที่ 3 ของวรรคที่ 2 เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช)แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ 1 กับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2 อย่างเดียวกับกาพย์ยานี 11 เพราะถือว่าไพเราะ

คำครุ    

หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด

คำครุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนไม้หันอากาศ แทน

คำลหุ    

หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะตัวเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ

คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน

  ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ 11

       พึงมรรยาทยึด                      สุประพฤติสงวนพรรค์

รื้อริษยาอัน                                  อุปเฉทไมตรี

ดั่งนั้นณหมู่ใด                             ผิบไร้สมัครมี

พร้อมเพรียงนิพัทธ์นี                    รวิวาทระแวงกัน

   แผนผังฉันท์ชนิดต่างๆ

004e0b981e0b89ce0b899e0b89ce0b8b1e0b887e
003e0b981e0b89ce0b899e0b89ce0b8b1e0b887e
e0b8a1e0b8b2e0b893e0b8a7e0b881.jpg
e0b8a7e0b8aae0b8b1e0b899e0b895.jpg
e0b8a7e0b8b4e0b88ae0b88ae0b8b8e0b8a1.jpg
e0b8ade0b8b4e0b899e0b897e0b8a7e0b887.jpg
e0b889e0b8b1e0b899.jpg
e0b889e0b8b1e0b8991.jpg
e0b889e0b8b1e0b8993.png
bottom of page