top of page

การโต้แย้ง

การโต้แย้ง 

          เป็นการแสดงทรรศนะอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรรศนะที่แตกต่างกัน ผู้แสดงทรรศนะต้องพยายามหาเหตุผล อ้างข้อมูลและหลักฐานต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตนและคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่ง
โครงสร้างของการโต้แย้ง 
          การโต้แย้งประกอบด้วย ข้อสรุป และ เหตุผล นั้นเอง ตัวอย่างเช่น
ทรรศนะที่ 1 การสอบเข้ามหาวิทยาลัย น่าจะสอบครั้งเดียวก็พอ จะได้ลดภาวะความเครียดของเด็ก สอบครั้งเดียวก็น่าจะตัดสินได้ เพราะเด็กที่เก่งจะสอบกี่ครั้งก็ได้คะแนนดีทุกครั้ง
ทรรศนะที่ 2 เด็กที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ควรต้องผ่านการทดสอบหลายๆ ด้าน การวัดเฉพาะความรู้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องมีการวัดด้านความถนัดด้วย เพราะการเรียนในระดับสูงเด็กต้องวิเคราะห์เป็น สังเคราะห์เป็น รู้จักเชื่อมโยง และการสอบหลายครั้งทำให้เด็กได้มีโอกาสเลือก

         หัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้งกว้างขวางมาก ไม่จำกัด แต่ในการโต้แย้งจริง ๆ ต้องกำหนดประเด็นในการโต้แย้งเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ผู้ที่เริ่มการโต้แย้งควรเสนอสิ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฝ่ายตรงข้ามอาจคัดค้านการเปลี่ยนแปลงนั้น โดยอ้างเหตุผลมาหักล้าง
กระบวนการโต้แย้ง 
1. การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
2. การนิยามคำสำคัญในประเด็น
3. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน
4. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนของทรรศนะตรงข้าม

การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
        คำว่า ตั้งประเด็น หมายถึง คำถามที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งกัน ชึ่งผู้โต้แย้งต้องรู้จักวิธีการตั้งประเด็นโดยไม่ให้ออกนอกประเด็น หรือโต้แย้งในประเด็นที่ไม่ควรจะโต้ การโต้แย้งเกี่ยวกับทรรศนะต่างๆ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การโต้แย้งเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้เปลี่ยนแปลงสภาพเดิม การโต้แย้งประเภทนี้มีข้อที่ควรคำนึงของทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายโต้แย้งดังนี้

                          ฝ่ายเสนอ

             1 )ชี้ให้เห็นข้อเสียของสภาพเดิม
             2 )เสนอว่าการเปลี่ยนเปลงสามารถแก้ไขข้อเสียหายได้
             3 )ชี้เห็นผลดีของข้อเสนอ

                          ฝ่ายโต้แย้ง

             1 )ชี้แจงว่าไม่มีข้อเสียหาย หรือมีก็ไม่มากนัก
             2 )แย้งว่าข้อเสนอนั้นปฏิบัติได้ยาก
             3 )แย้งให้เห็นว่าเป็นตรงกันข้าม

2 )การโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ฝ่ายเสนอและฝ่ายโต้แย้ง ควรคำนึงในเรื่องต่อไปนี้

                           ฝ่ายเสนอ

             1 )เรื่องนำมาอ้างมีอยู่จริง
             2 )การตรวจสอบว่าเรื่องนั้นมีจริงๆสามารถตรวจสอบได้

                          ฝ่ายโต้แย้ง

             1 )แย้งว่าเรื่องนั้นไม่มีอยู่จริง
             2 )แย้งว่าได้ตรวจสอบแล้ว แต่ไม่   ปรากฎว่ามี

3 )การโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า มีความรู้สึกส่วนตัวแทรกอยู่ด้วย

  การนิยามคำสำคัญในประเด็น

         การนิยาม คือ การกำหนดความหมายของคำว่า คำที่ต้องการจะโต้แย้งนั้นมีขอบเขตความหมายอย่างไรเพียงใด เพื่อการโต้แย้งจะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน วิธีการนิยามอาจทำได้โดยใช้พจนานุกรม สารานุกรม หรือนิยามด้วยการเปรียบเทียบก็ได้

การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน  

          ผู้โต้แย้งต้องพยายามแสดงทรรศนะที่มีข้อสนับสนุนที่หนักแน่น หลักฐานและเหตุผลต่างๆเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอย่างน่าเชื่อถือ วิธีการเรียบเรียงข้อสนับสนุนเป็นเรื่องสำคัญ เริ่มตั้งแต่ส่วนอารัมภบทต้องดึงดูดความสำคัญที่เป็นประเด็นการโต้แย้งต้องแสดงข้อสนับสนุนอย่าง ขัดเจน แจ่มแจ้ง และตรงตามความเป็นจริง

การชี้ให้เห็นจุดอ่อนของทรรศนะฝ่ายตรงข้าม 

         จุดอ่อนของทรรศนะของบุคคลจะอยู่ที่การนิยามคำสำคัญ ปริมาณและความถูกต้องของข้อมูลและสมมติฐานและวิธีอนุมาน

จุดอ่อนด้านการนิยามคำสำคัญ มีดังนี้

1. นำเอาคำที่นิยามไปบรรจุไว้ในข้อความที่นิยาม
2. ข้อความที่ใช้นิยามมีถ้อยคำที่เข้าใจยากจนสื่อความหมายไม่ได้
3. ผู้นิยามมีเจตนาที่ไม่สุจริต สร้างข้อโต้แย้งให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน

จุดอ่อนในด้านปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่นำมาแสดงทรรศนะผิดพลาดหรือน้อยเกินไป ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ

จุดอ่อนในด้านสมมติฐานและวิธีการอนุมาน สมมติฐานหรือการอนุมานจะด้วยวิธีใดก็ตามต้องเป็นที่ยอมรับเสียก่อน กล่าวคือ ต้องเป็นสมมติฐานที่ไม่เลื่อนลอย เป็นวิธีการอนุมานที่ไม่มีความผิดพลาด

การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง 

วิธีการวินิจฉัยตัดสินทรรศนะ มี 2 วิธีคือ

1. พิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระเท่านั้น
2. พิจารณาโดยใช้ดุจพินิจในคำโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายโดยละเอียด เช่นการตัดสินโต้วาที การดวลวิวาทะ

ข้อควรสังเกตในการโต้แย้ง

1. การโต้แย้งทำให้มีความคิดที่กว้างไกลขึ้น มองเห็นผลดีผลเสียชัดเจนขึ้น
2. การโต้แย้งไม่กำหนดระยะเวลา วิธีการ จำนวนบุคคล และสถานะของผู้โต้แย้ง
3. การโต้แย้งแตกต่างจากการโต้เถียง เพราะเป็นการใช้ความคิดและวิจารณญาณที่อาศัยเหตุผลและหลักฐานเป็นสำคัญ

bottom of page