ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2564
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2564
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2564
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2564
วิชา วิทยาการคำนวณ 2
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2566
วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 , 6 ภาคเรียนที่ 1/2566
พ.จ.ต.ศิริศักดิ์ วงษ์รักษา
กลุ่มสาระการรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนสีคิ้ว"สวัสดิ์ผดุงวิทยา"
อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 30140
3.3 เทคโนโลยีการสื่อสาร
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้นโดยเฉพาะในด้านการสื่อสาร ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยการพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เป็นต้น
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
-
ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือ ข้อเท็จจริงที่ผู้ส่งต้องการถ่ายทอดไปยังผู้รับ ซึ่งอาจแสดงออกมาโดยภาษาหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ผู้ส่งและผู้รับเข้าใจ เช่น การวาดรูป เป็นต้น
-
ผู้ส่งสาร (Sender) คือ บุคคล กลุ่มบุคคล หรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดข้อมูลข่าวสารที่ต้องการจะส่งไปยังผู้รับสาร
-
สื่อกลาง (Medium) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับสาร เช่น อากาศ เป็นสื่อกลางในการนำเสียง สายสัญญาณสื่อสาร เป็นต้น
-
ผู้รับสาร (Receiver) คือ บุคคล กลุ่ม บุคคล หรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับข้อมูลจากผู้ที่ส่งสารมาให้
-
โปรโตคอล (Protocol) คือ กฎ หรือ ข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลที่จะทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความเข้าใจตรงกัน
การพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารยุคโบราณ
เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้ในอดีต ซึ่งปัจจุบันไม่มีการสื่อสารด้วยวิธีนี้ หรือไม่นิยมใช้การสื่อสารประเภทนี้แล้ว การสื่อสารในยุคโบราณจะกระทำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ใช้ถ่ายทอดข้อมูลที่ไม่มีความสลับซับซ้อน และตัวกลางที่ใช้มักจะมีประสิทธิภาพน้อย และไม่มีความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสาร ตัวอย่างการสื่อสารในยุคโบราณ เช่น
ภาพบนผนังถ้ำ
เป็นการสื่อสารของบุคคลสมัยโบราณเพื่อบอกเล่าวิถีชีวิตของตนเอง ด้วยการใช้สีธรรมชาติหรือก้อนหินขีดเขียนและวาดภาพต่าง ๆ ไว้บนผนังถ้ำหรือก้อนหิน การวาดภาพบนผนังถ้ำจัดเป็นการสื่อสารรูปแบบแรกของมนุษย์ ที่ยังมีหลักฐานปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบัน
ควันไฟ
เป็นการสื่อสารโดยใช้กลุ่มของควันไฟแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อสื่อสารไปยังผู้รับสาร โดยผู้ส่งสารจะต้องก่อกองไฟในที่สูงเพื่อให้ผู้รับสารสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล การสื่อสารประเภทนี้มีความผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากควันไฟอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพอากาศ ทำให้เกิดการตีความหรือแปลสัญลักษณ์นั้น ๆ ผิดพลาดได้ และทุกคนสามารถมองเห็นควันไฟจากผู้ส่งสารได้ จึงไม่สามารถเก็บความลับของข้อมูลจากบุคคลอื่น ๆ ที่รู้รหัสหรือสัญลักษณ์นั้นได้
ม้าเร็ว
เป็นการสื่อสารโดยใช้มนุษย์และสัตว์เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากกว่าการวิ่งผลัด เนื่องจากประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับบุคคลที่บังคับม้าและม้าเป็นหลัก ทำให้สามารถสื่อสารหรือส่งข้อมูลได้รวดเร็ว รักษาความลับของข้อมูลและส่งข้อมูลไปยังผู้รับสารได้ถูกต้องกว่าการสื่อสารด้วยการวิ่งผลัด
การสื่อสารยุคอุตสาหกรรม
เป็นการสื่อสารที่ยังนิยมใช้ในปัจจุบัน แต่มีแนวโน้มที่จะเลิกใช้ในอนาคต เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการสื่อสารใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่ การสื่อสารยุคอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นประสิทธิภาพมากกว่าการสื่อสารยุคโบราณ ตัวอย่างการสื่อสารในยุคอุตสาหกรรม เช่น
โทรศัพท์หรือเทเลโฟน (Telephone)
เป็นการสื่อสารสองทิศทางพร้อมกัน แต่สามารถรับและส่งข้อมูลได้ในรูปแบบเสียงเท่านั้น โดยผู้สื่อสารทั้งสองฝ่ายจะต้องมีโทรศัพท์เพื่อใช้ในการสื่อสาร เวลาสื่อสารจะเป็นเวลาจริงในช่วงนั้น ๆ (Real Time) หากผู้รับข้อมูลไม่อยู่หรือมีความผิดพลาดด้านเวลาก็จะทำให้การสื่อสารไม่สามารถทำได้ โทรศัพท์มีพัฒนาการต่อเนื่องและยาวนานโดยเป็นพื้นฐานของการพัฒนาโทรศัพท์แบบไร้สายหรือโทรศัพท์แบบพกพา การใช้โทรศัพท์จะต้องติดตั้งเครื่องรับ เครื่องส่ง และสายโทรศัพท์ในพื้นที่ที่ให้บริการหรือมีสายโทรศัพท์จากหน่วยงานที่ให้บริการเท่านั้น จึงนิยมติดตั้งในที่อยู่อาศัย สำนักงาน และสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารมากนัก โทรศัพท์ประเภทนี้จะใช้ระบบการทำงานแบบ แอนะล็อก (Analog) โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูล
โทรสารหรือแฟกซ์ (Fax)
พัฒนามาจากการสื่อสารประเภทโทรศัพท์ เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบตัวอักษรหรือข้อความไปยังผู้รับสารได้มากกว่าข้อมูลเสียงเพียงอย่างเดียว มีลักษณะการใช้งานเหมือนโทรศัพท์ ในการส่งข้อมูลด้วยโทรสารผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องเปิดใช้เครื่องโทรสารจึงจะสามารถส่งข้อมูลได้ และไม่สามารถส่งข้อมูลเอกสารผ่านโทรสารได้พร้อมกับการส่งข้อมูลเสียง การสื่อสารด้วยโทรสารนี้ ข้อมูลต้นฉบับจะยังคงอยู่ที่ผู้ส่งสาร โดยผู้รับสารจะต้องมีกระดาษสำหรับคัดลอกข้อมูลที่ส่งไปยังปลายทาง
จดหมายและพัสดุ (Letter and Inventories)
เป็นการสื่อสารในรูปแบบดั้งเดิมโดยใช้บริการในการส่งจดหมายและพัสดุจากหน่วยงานให้บริการการสื่อสาร คิดอัตราค่าบริการตามน้ำหนักและระยะทางในการส่งจดหมายและพัสดุ ซึ่งการสื่อสารด้วยวิธีการนี้ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือกว่าการสื่อสารในรูปแบบอื่น สามารถกำหนดระยะเวลาในการสื่อสารได้แน่นอน และสามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ส่งข้อมูลได้ทุกรูปแบบ และมีพื้นที่ให้บริการทั่วโลก
การสื่อสารในยุคปัจจุบันหรือการสื่อสารยุคโลกไร้สาย
เป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความสะดวกสบายของผู้ใช้และประสิทธิภาพของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารเป็นหลัก ผู้สื่อสารจะต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างดี จึงจะสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บลูทูท (Bluetooth)
เป็นระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์นั้น ๆ โดยอาศัยคลื่นความถี่หรือสัญญาณวิทยุ ตัวอย่างการเชื่อมต่อบลูทูท เช่น การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์แบบพกพากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ การเชื่อต่อระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสมอลล์ทอล์ก (Small talk) บลูทูทสามารถเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารข้อมูลได้ในระยะทางใกล้ ๆ ไม่เกิน 10 เมตร ทำให้ต้องสื่อสารข้อมูลในระยะทางใกล้กว่าการสื่อสารด้วยไวไฟ นอกจากนี้บลูทูทยังมีประสิทธิภาพด้านความเร็วในการสื่อสารน้อยกว่าไวไฟอีกด้วย
การสนทนาออนไลน์หรือแชท (Chat)
เป็นการสนทนาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ปัจจุบันสามารถพัฒนาให้ใช้ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนภาพผู้สื่อสารได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีลักษณะเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย การสนทนาแบบนี้เป็นการสนทนาแบบโต้ตอบในเวลาเดียวกัน ดังนั้นผู้สื่อสารจึงต้องออนไลน์พร้อมกัน การสนทนาออนไลน์ในบางโปรแกรมจะมีการแบ่งการสนทนาออกเป็นห้อง ๆ หรือเป็นกลุ่มสนทนา โดยผู้ใช้ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีโปรแกรมสำหรับใช้สนทนา
วีดีโอทางไกล (Video Conferencing)
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปสู่อีกฝ่ายหนึ่ง การใช้วิดีโอทางไกลต้องมีอุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นสามารถแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ ปัจจุบันหลายหน่วยงานนำวิธีสื่อสารแบบวิดีโอทางไกลมาใช้เพื่อการประชุมมากขึ้น เพราะช่วยให้หน่วยงานประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตัวอย่างการใช้ประโยชน์วิดีโอทางไกล เช่น การนำวิดีโอทางไกลมาใช้ทางการศึกษา ทำให้นักเรียนสามารถรับฟังการบรรยายจากอาจารย์ซึ่งอยู่อีกที่หนึ่งได้โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนด้วยตนเอง และยังสามารถโต้ตอบระหว่างคู่สนทนาได้ เนื่องจากมีกล้องดิจิทัล ไมโครโฟน และลำโพง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายเห็นและได้ยินเสียงซึ่งกันและกัน
ทิศทางการสื่อสารข้อมูล
1. ทิศทางเดียว (Simplex)
เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทาง โดย ไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น
2. กึ่งสองทิศทาง (half duplex)
เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะ ไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด การส่งจดหมาย เป็นต้น
3. สองทิศทาง (full duplex)
หรือเรียกอีกอย่างว่า “การสื่อสารแบบสองทาง (Both-way Communication) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ โดยที่คู่สนทนาสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกดสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะก่อนที่จะสื่อสาร เป็นต้น
สื่อกลางการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย
1. สื่อกลางประเภทสายสัญญาณ
สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair หรือ TP) เป็นสื่อหรือตัวกลางที่มีราคาถูกที่สุดและนิยมใช้มากที่สุด ภายในประกอบด้วยลวดทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มแล้วนำมาพันกันเป็นเกลียว สายคู่บิดเกลียวแบ่งเป็น 2 ชนิด
สายคู่บิดเกลียวไม่หุ้มฉนวน
(Unshielded Twisted Pair หรือ UTP)
หรือสายยูทีพี หรือสายโทรศัพท์ มีทั้งหมด 8 เส้น ซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกันไปตลอดทั้งสายจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะสายเป็นเกลียว เพื่อช่วยป้องกันสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น เครื่องถ่ายเอกสารที่อยู่ใกล้ๆ ปัจจุบันยูทีพีเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย
สายคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวน
(Shielded Twisted Pair หรือ STP)
หรือสายเอสทีพีเป็นสายคู่มีลักษณะคล้ายกับสายยูทีพี มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวนได้มากกว่าสายยูทีพี สายคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวนจะมีโลหะถักเป็นตาข่ายโลหะ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณต่างๆ
สายโคแอ็กเชียล(Coaxial Cable)
หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า “สายโคแอ็ก” เป็นสื่อหรือตัวกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะหรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน สายโคแอ็กมี 2 แบบ ได้แก่ แบบหนาและแบบบาง ส่วนใหญ่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ไม่ต้องใช้อุปกรณ์รวมสายหรือฮับ(Hub) แต่ปัจจุบันมีการใช้น้อยลงเนื่องจากถูกแทนที่ด้วยสายยูทีพีที่มีราคาถูกกว่า และสามารถติดตั้งได้ง่ายกว่า
สายใยแก้วนำแสง(Fiber Optic Cable)
เป็นสื่อหรือตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปของแสง โดยเปลี่ยนสัญญาณข้อมูลหรือสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน แล้วส่งผ่านใยนำแสงไปยังปลายทางลักษณะเส้นใยนำแสงจะส่งสัญญาณเพื่อป้องกัน ความเสียหายและการสูญเสียของสัญญาณ การส่งข้อมูลผ่านใยนำแสงมีข้อดีตรงที่ส่งสัญญาณได้ในระยะทางไกลโดยไม่มี สัญญาณรบกวน มีความคุ้มค่าสูงเพราะส่งข้อมูลได้มากกว่าการส่งผ่านสายคู่บิดเกลียวและสาย โคแอ็กเชียล สามารถติดตั้งได้ในบริเวณที่มีไฟฟ้าแรงสูงหรือเกิดฟ้าผ่าขึ้นหลายครั้ง และข้อมูลรั่วไหลได้ยากจึงทำให้การลักลอบขโมยสัญญาณทำได้ยากเช่นกัน
2. สื่อกลางประเภทไร้สาย
คลื่นวิทยุ(Radio wave)
เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุจากอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์ที่สามารถเปิดเข้าถึงเว็บไซต์ได้ เป็นต้น ผู้ใช้บางรายใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการเชื่อมต่อเพื่อใช้บริการอิน เทอร์เน็ต ปัจจุบันมีเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้คลื่นวิทยุ คือ บลูทูธ(Bluetooth) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณโดยใช้คลื่นวิทยุระยะสั้น เหมาะสำหรับการติดต่อสื่อสารในระยะไม่เกิน 33 ฟุต การส่งสัญญาณสามารถส่งผ่านสิ่งกีดขวางได้ ทำให้เทคโนโลยีบลูทูธได้รับความนิยมสูง จึงมีการนำมาบรรจุไว้ในอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องพีดีเอ โน้ตบุ๊กเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดิจิทัล เป็นต้น
คลื่นไมโครเวฟ (microwave)
เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความเร็วสูงสามารถส่งสัญญาณเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งในแนวเส้นตรง ไม่สามารถโค้งหรือหักเลี้ยวได้ สามารถรับ ส่งได้ในระยะทางใกล้ๆ นิยมใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างอาคารที่อยู่ในเมืองเดียวกัน หรือวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย สำหรับระยะทางไกลๆ ต้องใช้สถานีรับส่งสัญญาณเป็นทอดๆโดยติดตั้งในพื้นที่สูง เช่น ยอดเขา หอคอย ตึก เป็นต้น โดยปกติความถี่ไมโครเวฟอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ด้านโทรคมนาคมและการทำอาหาร
ดาวเทียม (Satellite)
เป็นการสื่อสารโดยคลื่นไมโครเวฟแต่เนื่องจากเป็นคลื่นที่เดินทางในแนวตรง ทำให้พื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหรือตึกสูงมีผลต่อการบดบังคลื่น จึงมีการพัฒนาดาวเทียมให้เป็นสถานีไมโครเวฟที่อยู่เหนือพื้นผิวโลก ทำหน้าที่เป็นสถานีส่งและรับข้อมูล ถ้าเป็นลักษณะการส่งข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม ดาวเทียมสู่ภาคพื้นดิน เรียกว่า “การเชื่อมโยงหรือดาวน์ลิงค์ (Down Link)” ทั้งนี้มีระบบเทคโนโลยีที่นิยมและอาศัยการทำงานของดาวเทียมเป็นหลัก คือ ระบบจีพีเอส(Global Positioning System : GPS) ที่ช่วยตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่บนพื้นผิวโลก เช่น การติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสไว้ในรถและทำงานร่วมกับแผนที่ ผู้ใช้สามารถขับรถไปตามระบบนำทางได้ นอกจากนี้ยังได้นำอุปกรณ์จีพีเอสมาติดตั้งในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย
ประเภทระบบเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( computer network ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้เป็นการลดต้นทุนขององค์กรเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้
1. เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal Area Network: PAN)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( computer network ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้เป็นการลดต้นทุนขององค์กรเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้
2. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน
(Local Area Network: LAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร สำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่า เครือข่ายที่พักอาศัย ( home network ) โดยอาจเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่อง หรือมากกว่า เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายเฉพาะองค์กร การเชื่อมต่อเครือข่ายแลนสามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพกับองค์กรมากที่สุด เนื่องจากเครือข่ายแลนนี้จะทำหน้าที่เชื่อมประสานงานการทำงาน บริหารการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ได้ดีที่สุด เช่น การติดตั้งเครื่องพิมพ์ส่วนกลาง การจัดการฐานข้อมูล การจัดการแฟ้ม การรับ-ส่งเอกสาร รายงานต่าง ๆ เพื่อใช้ตัดสินใจในองค์กร เนื่องจากอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ห่างไกลมากนัก จึงสามารถทำความเร็วในการสื่อสารและมีอัตราการถูกรบกวนของสัญญาณน้อย ซึ่งอาจใช้การเชื่อมต่อแบบใช้สายหรือไร้สายก็ได้
3. เครือข่ายนครหลวง หรือแมน
(Metropolitan Area Network: MAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน การเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อ เครือข่ายแบบนี้ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครือข่ายแคมปัส ( Campus Area Network: CAN ) ซึ่งถือว่าเป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันในระหว่างที่กว้างใหญ่ ครอบคลุมระยะทางเป็น 100 กิโลเมตร ที่มีการติดต่อกันในระยะที่ไกลกว่าระบบแลนและใกล้กว่าระบบแวน เป็นการติดต่อระหว่างเมือง เช่น กรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ เชียงใหม่กับยะลาหรือเป็นการติดต่อระหว่างรัฐ โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ring
4. เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน
(Wide Area Network: WAN)
เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล ซึ่งมีอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสารหรือสามารถนำเครือข่ายท้องถิ่นมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบธนาคารทั่วโลก หรือเครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น