top of page
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สาระการเรียนรู้

1.1  ขอบเขตงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1.2  สภาวะการทำงานไม่ปลอดภัยและการเสริมสร้างความปลอดภัย

1.3  สาเหตุการเกิดและการทำให้เกิดอุบัติเหตุ

1.4  การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ

1.5  อาชีวเวชศาสตร์

1.6  การเกิดและการจำกัดความเครียด

1.1 ขอบเขตงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การดำเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดโรค ปลอดภัย มีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การบริการที่จัดขึ้นในสถานประกอบการโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมและดำรงไว้ ซึ่งสุขภาพอนามัยที่ดีของผู้ประกอบอาชีพ รวมทั้งการควบคุมโรคตลอดจนอันตราย อันเกิดจากอุปกรณ์และเครื่องจักรในการปฏิบัติงาน

1.1.1 ขอบเขตตามข้อกำหนดของ WHO และ ILO องค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO) WHO เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในกฎบัตรของสหประชาชาติ และก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างพวกเขาและหน่วยงานอื่นเพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของทุกคน 5 ประการ

    1. การส่งเสริมสุขภาพ (Promotion) และธำรงรักษาไว้ (Maintenance) เพื่อให้ทุกคนทุกอาชีพมีสุขภาพร่างกาย จิตใจที่สมบรูณ์

    2. การป้องกัน (Prevention) สุขภาพคนทำงานไม่ให้เสื่อมโทรมหรือผิดปกติจากสาเหตุอันเนื่องจากการทำงาน

    3. การปกป้องคุ้มครอง (Protection) คนทำงานหรือลูกจ้างไม่ให้ทำงานที่เสี่ยงอันตราย

    4. จัดคนงานให้ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม กับความสามารถของร่างกายและจิตใจ

    5. ปรับงานให้เหมาะสมกับคน และปรับคนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน

1.1.2 ขอบเขตในศาสตร์และงานในสาขาวิชาต่างๆ

    1. งานอาชีวศาสตร์ ซึ่งมีนักอาชีวสุขศาสตร์ (Occupational hygienist) ทำหน้าที่สืบค้นตรวจประเมินเพื่อควบคุมสิ่งแวดล้อมการทำงาน

    2. งานอาชีวนิรภัย (Occupational Safety) บุคลากรประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย วิศวกรความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน นักการยศาสตร์ (Argonomist) มีหน้าที่ตรวจสภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมการทำงานเพื่อประเมิน ป้องกัน และควบคุมอุบัติเหตุ

    3. งานอาชีวเวชสาสตร์ (Occupational Medicine) บุคลากรประกอบด้วย แพทย์อาชีวอนามัย พยาบาลอาชีวอนามัย ทำหน้าที่ในการตรวจสอบร่างกายและรักษาโรคแก่คนทำงาน

    4. งานเวชกรรมฟื้นฟู (Rehabilitation) ประกอบด้วย แพทย์เฉพาะสาขา นักกายภาพบำบัด นักวิจัยอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ฟื้นฟูสภาพความพิการของทำงาน

1.2 สภาวะการทำงานไม่ปลอดภัยและการเสริมสร้างความปลอดภัย

               1.2.1 สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย สภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุและจากกความไม่เหมาะสมของปัจจัยต่างๆ

                      ปัจจัยสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพนักงานและสิ่งแวดล้อมการทำงาน

                    1. เกิดจากพนักงาน ได้แก่ การขาดความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญและขาดความเข้าใจในงานที่ทำ มีเจตคติ และจิตสำนึก

                       ที่ไม่ปลอดภัย

                    2. เกิดจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน ได้แก่ สภาพการทำงานไม่ปลอดภัยหรือมีความผิดพลาดของสิ่งต่างๆ ได้แก่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์

                       เครื่องมือ เครื่องใช้เสียง แสงรังสี ความสั่นสะเทือน ความร้อน ความเย็น อากาศที่หายใจก๊าซ ไอสาร ฝุ่น รวมถึงสภาพการทำงานที่

                       ซ้ำซาก เร่งรีบ งานกะ งานล่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม

               1.2.2 การเสริมสร้างความปลอดภัยด้วยหลัก 3 E โรคอุบัติภัย การบาดเจ็บ การสูญเสีย มีผลต่อพนักงานทรัพย์สิน ผลผลิตและคุณภาพงาน

                       ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น สามารถควบคุมได้โดยการบริหารจัดการให้มีความปลอดภัยในงาน

                    1. Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) คือการใช้ความรู้วิชาการด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ในการคำนวณและออกแบบเครื่องจักรเครื่องมือ

                        ที่มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ปลอดภัยที่สุด การติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนที่เคลื่อนไหวหรืออันตรายของเครื่องจักร

                        การวางผังโรงงาน ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง เสียง การระบายอากาศ เป็นต้น

                    2. Education (การศึกษา) คือการให้การศึกษา หรือ การฝึกอบรมและแนะนำคนงาน หัวหน้างาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงาน

                       ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ และการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงาน ให้รู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นและ

                       ป้องกันได้อย่างไร และจะทำงานวิธีใดจึงจะปลอดภัยที่สุด เป็นต้น

                   3. Enforcement (การออกกฎข้อบังคับ) คือการกำหนดวิธีการทำงานอย่างปลอดภัย และมาตรการบังคับควบคุมให้คนงานปฏิบัติตาม

                       เป็นระเบียบปฏิบัติที่ต้องประกาศให้ทราบทั่วกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ เพื่อให้เกิดความสำนึกและหลีก

                       เลี่ยงการทำงานที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นอันตราย

1.3 สาเหตุการเกิดและการทำให้เกิดอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในภาวะการจ้างงาน ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อ ชีวิตคน เครื่องจักร สิ่งของ ในเวลา ทันทีทันใด / ช่วงเวลาถัดไปในสถานที่ทำงาน / นอกสถานที่ทำงาน

1.  เนื่องจากการบริหารการจัดการและการควบคุมงานความปลอดภัยขาดประสิทธิภาพ

    1.  เนื่องจากการบริหารจัดการและการควบคุมงานความปลอดภัยขาดประสิทธิภาพ

    2.  ไม่มีการสอนหรืออบรมเกี่ยวการความปลอดภัย

    3.  ไม่ได้วางแผนความปลอดภัยในการทำงาน

    4.  ไม่ได้ทำการแก้ไขจุดที่เป็นอันตราย

    5.  ไม่จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยให้แก่คนงาน

2. เนื่องจากสภาวะของจิตใจคนไม่ปกติ หรือไม่เหมาะสม

    1. ขาดความรู้ หรือจิตสำนึกความปลอดภัย

    2. มีทัศนคติไม่ดีและไม่ถูกต้อง

    3. ภาวะจิตใจตอบสนองช้าเกินไป

    4. ขากสติ และความตั้งใจในการทำงาน

    5. ไม่สามารถควบคุมอารมได้

    6. ตื่นเต้น ขวัญ อ่อน กลัว ตกใจง่าย

3. เนื่องจากสภาวะร่างกายของบุคคลไม่ปกติ

    1. อ่อนเพลีย เมื่อยล้า

    2. หูหนวก

    3. สายตาไม่ดี

    4. สภาพร่างกายไม่เหมาะกับงาน

    5. โรคหัวใจ

    6. ร่างกายพิการ

1.3.1 สาเหตุพื้นฐานหรือสาเหตุที่เอื้ออำนวยให้เกิดอุบัติเหตุ

สาเหตุพื้นฐานหรือสาเหตุที่เอื้ออำนวยให้เกิดอุบัติเหตุ (Basic or Contributing causes)

มี 3 ประการดังต่อไป

1.3.2 สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ (Immediate causes)

1. การกระทำที่ไม่ปลอดภัยของบุคคล (Unsafe Act)

    1. ปฏิบัติงานโดยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง

    2. บำรุงรักษาซ่อมแซมเครื่องจักรโดยไม่หยุดเครื่อง

    3. ถอดเครื่องป้องกันอันตราย (Safety Guard) ออกแล้วไม่ใส่หรือวางใจไม่ใช่

    4. ทำงานหรือใช้เครื่องจักรเร็วกว่าอัตราที่กำหนด

    5. ไม่ใส่เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน

    6. เล่นตลกคะนอง หยอกล้อกันในขณะทำงาน

    7. ไม่ปฏิบัติงานกฎความปลอดภัย

    8. สวมใส่ชุดทำงานไม่รัดกุม หรือใส่เครื่องประดับที่เอื้ออำนวยให้เกิดอุบัติเหตุ

    9. ใช้เครื่องมือชำรุด หรือใช้ไม่ถูกวิธีและไม่เหมาะกับงาน

  10. ดื่มสุรา หรือของมึนเมาขณะปฏิบัติงาน

2. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition)

    1. อุปกรณ์การผลิต เครื่องจักร อยู่ในสภาพชำรุด ไม่มีเครื่องป้องกันอันตราย

    2. โครงสร้างของอาคารไม่มั่นคง แข็งแรง

    3. ขาดความวางแผนจัดระเบียบรักษาความสะอาดในโรงงาน

    4. การตั้งกองวัสดุหรือสิ่งขิงไม่เป็นระเบียบและไม่ถูกวิธี

    5. การจัดสารเคมีที่เป็นพิษ วัตถุระเบิด

    6. สถานที่ทำงานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง

    7. ไม่มีระบบการระบายอากาศ

    8. ไม่มีระบบเตือนภัยที่เหมาะสม

1.4 การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ

           ความสูญเสียทางตรง หมายถึง จำนวนเงินที่ต้องจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับผู้ได้รับบาดเจ็บโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่

                          1) ค่ารักษาพยาบาล

                          2) ค่าเงินทดแทน

                          3) ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ

                          4) ค่าประกันชีวิต

           ความสูญเสียทางอ้อม หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่นๆนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายทางตรงสำหรับการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ได้แก่             การสูญเสียเวลาทำงานของ

                          1) คนงานหรือผู้บาดเจ็บ เพื่อรักษาพยาบาล

                          2) คนงานอื่นหรือเพื่อนร่วมงานที่ต้องหยุดชะงักชั่วคราวเนื่องจากช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยการปฐมพยาบาล                                หรือนำส่งโรงพยาบาลความตื่นตกใจ (ตื่นตระหนกและเสียขวัญ)

                          3) หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา เนื่องจากช่วยเหลือผู้บาดเจ็บสอบสวนหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ                                    จัดหาคนงานอื่นและฝึกสอนให้สามารถทำงานแทนผู้บาดเจ็บหาวิธีแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิด                                   ซ้ำอีกนอกจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับคนยังมีค่าใช้จ่ายทางอ้อมต่างๆ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม                                   เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ได้รับความเสียหาย วัตถุดิบ วัสดุ หรือสินค้าที่ได้รับความเสียหาย ค่า                                 สวัสดิการต่างๆของผู้บาดเจ็บ ค่าจ้างแรงงานของผู้บาดเจ็บซึ่งโรงงานยังคงต้องจ่ายตามปกติ การสูญ                                   เสียโอกาสในการทำกำไร (ผลผลิตเสียหาย หรือ ผลผลิตลดลง) ค่าเช่า ค่าไฟฟ้าน้ำประปา และโสหุ้ย                                   ต่างๆ ที่โรงงานยังคงต้อง จ่ายตามปกติ แม้ว่า โรงงานจะต้องหยุดหรือปิดกิจการหลายวันในกรณีเกิด                                   อุบัติเหตุร้ายแรง  การเสียชื่อเสียงและภาพพจน์ของโรงงาน

1.5 อาชีวเวชศาสตร์

อาชีวเวชศาสตร์ (occupational medicine) เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทำงาน วิชาอาชีวเวชศาสตร์นี้ครอบคลุมตั้งแต่การ ป้องกัน โรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน แต่เนื่องจากปัญหาโรคจากการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ องค์ความรู้ของ วิชานี้ในปัจจุบันจึง เน้น หนักไปทางการป้องกันโรคเป็นหลัก และวิชาอาชีวเวชศาสตร์ถูกจัดว่าเป็นแขนงหนึ่งของวิชาเวชศาสตร์ป้องกันด้วยแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้นเรียกว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร์

             1.5.1 ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคโดยตรง

                         1. ปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความร้อน แสง เสียง

                         2. สารเคมี เช่น สารละลาย โลหะและสารประกอบของโลหะ

                         3. สารชีวภาพ ได้แก่ จุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดโรคในคนทั่วไปๆ

                         4. สภาพของงานที่ปฏิบัติ เช่น เก้าอี้ที่นั่งทำงานออกแบบมาไม่เหมาะสม

                         5. ลักษณะท่าทางการทำงาน เช่น ก้มลงยกของหนักแทนย่อเข่าลงยกของก็ทำให้เป็นโรคปวดหลัง

             1.5.2 สาเหตุที่เป็นสาเหตุสนับสนุนให้เกิดโรค

                         1. ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ประกอบอาชีพ

                               1.1. เพศ ทั่วไปเพศหญิงมีโอกาสที่เป็นโรคจากการประกอบอาชีพได้ง่ายกส่าผู้ชาย เช่น ตะกั่ว

                               1.2. อายุ

                               1.3. คนที่มีสุขภาพไม่สมบรูณ์หรือเป็นโรคประจำตัว อาจจะเกิดโรคได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ

                               1.4. ถ้าทำงานหลายชั่วโมงมีโอกาสที่จะเป็นโรคได้ง่าย

                               1.5. ระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นพิษ

                               1.6. ความไวต่อการแพ้พิษหรือการเกิดโรคของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน

                           2. ปัจจัยที่เกี่ยวกับสังคมและเศรษฐกิจ

                              1. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ บุคคลหรือสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้อและมีผลกระทบต่อการเกิดโรคของผู้ปฏิบัติงานที่สำคัญ

                                  ได้แก่ เจ้านาย หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และบ้านที่อยู่อาศัย

                               2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีสถานะที่แตกต่างกันไป ประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจไม่ดี                                    จะกลายเป็นประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา ส่วนประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีก็จะกลายเป็นประเทศ                                    มหาอำนาจและทำให้มีพันธมิตรมากฐานะทางเศรษฐกิจนั้นเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมทางยุทโธปกรณ์และ                                      อุตสาหกรรมหนักอื่น ๆ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ ต้องพิจารณา คือ ทรัพยากรและผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรม

1.6 การเกิดและการจำกัดความเครียด

              1.6.1 การเกิดความเครียดและผลกระทบความเครียด

                                1. การเกิดความเครียด คือการหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องมีอยู่                                         เสมอในการดำรงชีวิต เช่น การทรงตัว เคลื่อนไหวทั่วๆไปทุกครั้งที่เราคิดหรือมีอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นจะต้องมีการหดตัว                                     เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกายเกิดขึ้นควบคู่เสมอ ความเครียดเกิดจาก สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิด                                               การปรับตัว และถ้าไม่สามารถปรับตัวได้จะทำให้เกิดความเครียดสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด

                                       1. ทางด้านร่างกาย เกี่ยวกับสุขภาพและการเจ็บป่วย ทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงทำให้เกิดความเครียดได้                                                                 การพักผ่อนไม่เพียงพอ ฯลฯ

                                       2. ทางด้านจิตใจ เช่น ผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง เวลาที่มีเรื่องต่าง ๆ เข้ามากระตุ้นก็จะทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย                                                   หรือเป็นผู้ที่วิตกกังวลง่าย ขาดทักษะในการปรับตัว

                                       3. ทางด้านสังคม มีสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความบกพร่องในเรื่องของการปรับตัว ขาดผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือ ถ้ามีผู้ที่ให้                                             ความช่วยเหลือก็จะทำให้ความเครียดลดน้อยลงไป มีสิ่งมากระตุ้นมากเกินความสามารถของตนเอง ความขัดแย้ง                                               ในครอบครัว ฯลฯ

                                 วิธีการขจัดความเครียดที่เกิดขึ้นพิจารณาจาก 3 สาเหตุ ได้แก่

                                       1. ทางด้านร่างกาย คือ การกำจัดสาเหตุที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาสุขภาพร่างกาย

                                       2. ทางด้านจิตใจ คือ การปรับสภาพจิตใจของตัวเราเอง รู้จักปรับเข้ากับปัญหา ยอมรับในสิ่งที่ยังแก้ไขไม่ได้

                                       3. ทางด้านสิ่งแวดล้อม คือ ถ้ามีภาระงานมากจนรับไม่ไหว ควรทำงานให้น้อยลง รู้จักแบ่งเวลาในการทำงานและแบ่ง                                             เวลาให้กับตัวเอง

                                  ผลกระทบของความเครียด

                                  ผลกระทบต่อตนเอง

       ทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว หัวใจเต้นแรงและเร็ว มือ เท้าเย็น ท้องอืด คลื่นไส้หรือปั่นป่วน           ในท้อง ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรคหัวใจ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลนทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิด                   โกรธง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า ฯลฯ

       ทางด้านความคิด เช่น หดหู่ ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจลำบาก หลงลืมง่าย มีความคิดทางลบมากกว่าทางบวก                 เห็นตัวเองไม่มีคุณค่า สิ้นหวัง ฯลฯ

       ทางพฤติกรรม เช่น ดื่มจัดมากเกินไป สูบบุหรี่จัด ไม่เจริญอาหาร ก้าวร้าว นอนไม่เต็มที่ ฯลฯ

ผลกระทบของความเครียดต่อครอบครัว

       ครอบครัวขาดการสื่อสารที่ดีซึ่งกันและกันไม่ยอมรับและไม่มีความเข้าใจกันเกิดความขัดแย้งทะเลาะวิวาท             เกิดการหย่าร้าง หรือแยกกันอยู่ระหว่างสามีภรรยา ลูกไม่ได้รับความรักความอบอุ่น และความเอาใจใส่                 จากพ่อแม่

ผลกระทบของความเครียดต่อการงาน

       ไม่มีสมาธิในการทำงาน ทำงานบกพร่องและผิดพลาดไม่รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายขาดงานบ่อย                 ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

ความเครียด (Stress) เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายถูกกระตุ้น และมีปฏิกิริยา ตอบโต้เป็น ปฏิกิริยา ทางสรีรวิทยา และจิตวิทยาโดยระบบต่อมไร้ท่อที่หลั่งฮอร์โมน และ ระบบประสาทอัตโนมัติ ทําให้เกิด การเปลี่ยนแปลง ไปทั่วร่างกาย เมื่อเกิด ความเครียดภายในจิตใจ มักส่งผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เช่น

ทางกาย : ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หายใจไม่อิ่มหัวใจ เต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น มือเย็นเท้าเย็น เหงื่อออก ตามมือตามเท้าหายใจตื้นและเร็วขึ้น ใจสั่น ถอนหายใจบ่อยๆ กัดขากรรไกร ขมวดคิ้ว ตึงที่คอ ประสาทรับ ความรู้สึกหูไวตาไวขึ้น การใช้พลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น รู้สึกเพลียปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องเสียหรือ ท้องผูก นอนไม่หลับ หรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา

ทางจิตใจ : หงุดหงิด สับสน คิดอะไรไม่ออก เบื่อหน่าย โมโหง่าย ซึมเศร้าสมองทํางานมากขึ้น ความคิดอ่านระยะสั้นดีขึ้น การตัดสินใจเร็วขึ้น ความจําดีขึ้นสมาธิดีขึ้น วิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจ น้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เหงา ว้าเหว่ สิ้นหวัง หมดความรู้สึกสนุกสนาน

ทางสังคม : บางครั้งทะเลาะวิวาทกับคนใกล้ชิด หรือไม่พูดจากับใคร จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยๆ

1. การกำจัดความเครียด

การกำจัดความเครียดโดยทั่วไป ได้แก่ ทำกิจกรรมที่ชอบ ทำแล้วรู้สึกดีเพลิดเพลินและผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกายด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย การพูดสังสรรค์กับเพื่อนฝูง การทำงานอดิเรก การไปเที่ยวพักผ่อนจิตใจ การดูหนังฟังเพลง เป็นต้น การจำกัดการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่

      1) การมองเห็น เป็นความสามารถของตาที่จะโฟกัสและจับภาพที่เกิดจากแสงในความถี่ที่เห็นได้ที่ตกกระทบลงบนเซลล์รับแสง (Photoreceptor cell) ในเรตินาของตาแต่ละข้าง เป็นผลให้เกิดศักยะงานส่งข้อมูลไปยังระบบประสาทกลางเกี่ยวกับสีและความสว่าง มีเซลล์รับแสงสองอย่างคือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยเซลล์รูปแท่งไวแสงมาก แต่ไม่ทำการแยกแยะสี เปรียบเทียบกับเซลล์รูปกรวยที่แยกแยะสี แต่ไวแสงน้อยกว่า

      2) การได้ยิน ก็คือการรับรู้เสียง ซึ่งเป็นเรื่องของการรับรู้ความสั่นสะเทือนล้วน ๆ คือ ตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) ที่อยู่ในหูชั้นใน แปลความสั่นสะเทือนในสื่อ (เช่นอากาศ) ไปเป็นพลังงานประสาทที่เป็นไฟฟ้า

      3) การรับรส ก็เป็นการรับรู้ที่รู้จักกันดีอย่างหนึ่งในประสาทสัมผัส 5 อย่าง เป็นคำหมายถึงความสามารถในการตรวจจับรสของสิ่งต่าง ๆ เช่นอาหาร เกลือแร่ และสารพิษเป็นต้น

      4) การได้กลิ่นเป็นทางประสาทสัมผัสเชิงเคมีอย่างหนึ่ง และไม่เหมือนการลิ้มรส มีตัวรับกลิ่น (olfactory receptor) เป็นร้อยชนิด (388 ชนิดโดยแหล่งข้อมูลหนึ่งแต่ละตัวทำปฏิกิริยาต่อโมเลกุลที่มีลักษณะเฉพาะ

      5) การสัมผัส เป็นความรู้สึกที่เริ่มจากการทำงานของเซลล์รับความรู้สึก ซึ่งทั่ว ๆ ไปมีอยู่ในผิวหนังรวมทั้งปุ่มขน (hair follicle) แต่ก็มีอยู่ที่ลิ้น คอ และเยื่อเมือกด้วยมีตัวรับแรงกด (pressure receptor) ที่ตอบสนองต่อแรงกดแบบต่าง ๆ (แบบหนักแน่น แบบผ่าน ๆ แบบคงที่)

2. กลยุกต์คลายเครียด

ความเครียดคือ สิ่งที่ทำให้ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เกิดความวิตกกังวล ตื่นเต้น เกลียด กลัว หรือความรู้สึกที่ไม่ชอบสิ่งแบบนี้ เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันธรรมดาๆแต่ถ้าเป็นถึงขนานมีการสูญเสีย การผิดหวัง ความเครียดนั้นจะกลายเป็นความทุกข์ขึ้นมา

1. ปรับเปลี่ยนความคิด เมื่อเราเกิดความเครียด จะมีความวิตกกังวล และมองโลกในแง่ลบเสมอ ดังนั้น พยายามอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด ทำวันนี้ ตอนนี้ให้ดีที่สุด อยู่กับปัจจุบัน การคิดหมกมุ่นอยู่กับอดีต เราไม่สามารถที่จะย้อนกลับไปหามันได้ ใช้มันให้เป็นบทเรียนที่มีค่าจะดีกว่า พยายามมีสติอยู่เสมอ เวลาที่เราเกิดความเครียด มักจะตั้งตัวไม่ทันปล่อยใจไปกับสิ่งเหล่านั้น จมอยู่กับความเครียดนั้น ไม่มีสมาธิที่จะทำอะไร การมีสติจะเป็นการค่อยๆเริ่มเรียนรู้จักปัญหา

2. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการ ออกกำลังกาย น้อยคนที่จะออกกำลังกายให้เป็นกิจวัตร ได้ คุณควรจะหาเวลาของแต่ละวันอย่างน้อย 30 นาที ในการออกกำลังกาย โดยเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับคุณที่สุด ถ้าคุณไม่ต้องการสิ้นเปลืองกับค่าอุปกรณ์ คุณอาจจะเลือกการวิ่งหรือเดิน ว่ายน้ำ โยคะ หากอยากมีแรงจูงใจในการออกกำลังกาย ขอแนะนำกีฬาที่เล่นเป็นหมู่คณะ ได้แก่ แบตมินตัน บาสเกตบอล ฟุตบอล หรือ เทนนิส กีฬาจะทำให้เราได้ระบายออกซึ่งแรงขับของจิตใจในด้านต่างๆ3. กิจกรรมผ่อนคลายความเครียด การทำอะไรที่ไม่จำเจกับกิจกรรมเดิมๆ ช่วยสร้างความสุขได้ กิจกรรมที่แนะนำมีดังนี้

         2.1 ท่องเที่ยว การที่ได้ไปท่องเที่ยวเห็นบรรยากาศทิวทัศน์สวยงาม ไปเจอผู้คนหลากหลาย ทำให้เราได้เห็น                สัจธรรมและความแตกต่างของคน ทำให้เราผ่อนคลายและเปลี่ยนมุมมองใหม่

         2.2 ดนตรีบำบัด ดนตรีช่วยทำให้อารมณ์เยือกเย็นลง ผ่อนคลาย ใจสงบ เพลงที่มีเสียงคลื่นทะเล                              เสียงน้ำไหลหากคุณฟังเพลงเบาๆ หลับตาแล้วปล่อยวางความเครียด

         2.3 กลิ่นบำบัด (อโรมาเทอราปี) กลิ่นเป็นการรับรู้ทางสัมผัสที่สื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกได้ดี วิธีการคือคุณ                อาจจุดธูปหอม หรือ หยดน้ำมันหอมระเหยในห้องพัก

         2.4 การนวด การนวดเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและทำให้เลือดลมสูบฉีด ทำให้ผู้ที่ถูกนวดรู้สึกผ่อนคลาย                และสบายมากยิ่งขึ้น แต่ควรนวดด้วยความระมัดระวัง

1.6.2 การจำความเครียดและกลยุกต์คลายเครียด

1.6.3 วิธีการผ่อนคลายความเครียด

bottom of page