top of page

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน python

unnamed54.png

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน python

ภาษาไพทอนเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรมไปจนถึงการประยุกต์ใช้งานระดับสูง เนื่องจากเป็นภาษาที่มีโครงสร้าง และไวยากรณ์ค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้ง่ายในการทำความเข้าใจ

ตัวแปรในภาษาไพทอน
ตัวแปร คือ สัญลักษณ์ ในคำภาษาอังกฤษที่ผู้พัฒนาโปรแกรม หรือผู้เขียนโปรแกรมตั้งชื่อขึ้นมาเองเพื่อใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ในชุดคำสั่งภาษาโปรแกรม หรือโค้ดโปรแกรม ตัวแปรเปรียบเสมือนภาชนะที่ใช้เก็บข้อมูลโดยข้อมูลเหล่านั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้เขียน

2. การตั้งชื่อตัวแปรที่ดี การตั้งชื่อตัวแปรที่ดี หรือ ชื่ออื่น ๆ ในคำสั่งโปรแกรมภาษาไพทอน ที่ผู้พัฒนาโปรแกรม หรือผู้เขียนโปรแกรมสร้างขึ้นสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบดังนี้

  • Camel Case เป็นรูปแบบการตั้งชื่อที่มีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่สลับกันไปมา โดยกำหนดให้ตัวอักษรตัวแรกของคำเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ แล้วตามด้วยตัวอักษรที่เหลือของคำเป็นตัวพิมพ์เล็ก ทำให้ชื่อของตัวแปรมีลักษณะสูงต่ำคล้าย ๆ กับหลังอูฐ ทั้งนี้ยกเว้นตัวแรกของชื่อที่ตั้งโดยทั่วไปจะให้ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก เช่น studentScoreFinal, productPrice, isCheckedValue

  • Snake Case เป็นรูปแบบการตั้งชื่อตัวแปรที่แยกคำด้วยเครื่องหมาย “_” ทำให้ชื่อตัวแปรมีลักษณะคล้ายลำตัวงูที่กำลังเลื้อยไปมา เช่น student_score_final, product_price, is_checked_value

3. การสร้างและกำหนดค่าให้กับตัวแปร ภาษา python เป็นภาษาประเภท Dynamically type language หมายถึง ภาษาที่มีการสร้างตัวแปรโดยไม่ต้องมีการกำหนดชนิดของตัวแปรแต่ละชนิด ตัวแปรจะถูกกำหนดชนิดของตัวแปรโดยข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรอัตโนมัติ ซึ่งรูปแบบการสร้างหรือกำหนดค่าตัวแปรสามารถทำได้ดังนี้

unnamed.jpg

4. ชนิดข้อมูลของตัวแปร เป็นการกำหนดประเภทให้กับตัวแปรที่สร้างขึ้นมา ว่าข้อมูลนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร โดยชนิดของข้อมูลที่มักจะใช้งานบ่อย ได้แก่ ข้อมูลชนิดตัวเลข จำนวนเต็ม จำนวนจริง อักขระ หรือ ข้อความ

  • ข้อมูลชนิดที่เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม (integer: int) เป็นการกำหนดชนิดของข้อมูลให้กับตัวแปรที่สร้างขึ้นว่า ข้อมูลชนิดนั้นเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม

  • ข้อมูลชนิดที่เป็นจำนวนจริง (float) เป็นการกำหนดชนิดของข้อมูลให้กับตัวแปรที่สร้างขึ้นว่า ข้อมูลชนิดนั้นเป็นข้อมูลจำนวนจริง

  • ข้อมูลชนิดที่เป็นอักขระหรือข้อความ (string: str) เป็นการกำหนดชนิดของข้อมูลให้กับตัวแปรที่สร้างขึ้นว่า ข้อมูลชนิดนั้นเป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือ ข้อความต่าง ๆ เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่

1. การตั้งชื่อตัวแปร ในโปรแกรมภาษาไพทอน มีกฎการตั้งชื่อดังนี้

  • ชื่อตัวแปรจะต้องประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข หรือ เครื่องหมาย “_” ขีดเส้นใต้ (Underscore)

  • ตัวอักษรตัวแรกของตัวแปร ต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก หรือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ หรือเครื่องหมายขีดล่าง “_” เท่านั้น

  • ชื่อตัวแปรห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น @, #, +

  • ชื่อตัวแปรที่สะกดด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ ถือว่าเป็นคนละตัวแปรกับชื่อตัวแปรที่สะกดด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก เช่น Num1 ถือว่าเป็นคนละตัวกับ num1 (Case sensitive)

  • ตัวอักษรตัวแรกของตัวแปรห้ามเป็นตัวเลข

  • การตั้งชื่อตัวแปรผันกับคําสงวนในภาษา python เช่น int, str, max, abs

  • ชื่อตัวแปรต้องไม่มีการเว้นวรรค

รหัสควบคุมและรหัสรูปแบบข้อมูล
1. รหัสควบคุม (Escape Sequence) คือ รหัสพิเศษที่แทรกไว้ในข้อความตัวอักษร เพื่อใช้ในการควบคุมการแสดงผลของตัวอักษรออกมาทางจอภาพ ในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งการใช้งานรหัสควบคุมนั้นจะต้องมีเครื่องหมาย \ (Back-Slash) นำหน้าเสมอรหัสควบคุมมี ดังนี้
54.jpg
2. รหัสรูปแบบข้อมูล (Format Code) คือ รหัสที่ใช้แทนชนิดข้อมูล ใช้ร่วมกับคำสั่งการแสดงผล และคำสั่งรับข้อมูล ซึ่งรหัสรูปแบบข้อมูลมีดังนี้
unnamed (1).jpg

3. ตัวดำเนินการ (Operator) เป็นเครื่องหมาย หรือ อักขระที่ใช้สำหรับคำนวณ หรือ ประมวลผลต่าง ๆ โดยในภาษาไพทอนมีตัวดำเนินการหลายชนิด ได้แก่ ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ตัวดำเนินการกำหนดค่า ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ และตัวดำเนินการตรรกะ

3.1 ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ คือ ตัวดำเนินการที่ใช้สำหรับคำนวณทางคณิตศาสตร์มีดังนี้

unnamed (45.jpg

3.2 ตัวดำเนินการกำหนดค่า ในภาษาไพทอนจะมีเครื่องหมาย (=) ในการกำหนดค่าของคำสั่ง โดยเครื่องหมายเท่ากับที่ใช้ในโปรแกรมภาษาไพทอนนั้น ไม่ใช่เครื่องหมายเท่ากับที่ใช้กันในวิชาคณิตศาสตร์ เป็นเพียงแค่การกำหนดค่าเท่านั้น โดยจะเป็นการนำค่า หรือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของสิ่งที่อยู่ทางขวาของเครื่องหมายเท่ากับ ไปกำหนดให้กับสิ่งที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของเครื่องหมาย

     ตัวอย่างการใช้ตัวดำเนินการสำหรับกำหนดค่า

      กำหนดให้ myNumber = 10 เป็นการนำค่า 10 ไปกำหนดให้กับ myNumber

      ดังนั้น

      เมื่อใดที่มีการนำ myNumber  ไปใช้งานก็จะได้ค่า 10

      เช่น เมื่อสั่งให้แสดงผล myNumber  จะแสดงผลเป็น 10

3.3 ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ คือ ตัวดำเนินการสำหรับเปรียบเทียบค่า ซึ่งผลการเปรียบเทียบจะได้ค่า จริง(True) หรือ เท็จ(False) เท่านั้นตัวดำเนินการเปรียบเทียบมีดังนี้

457.jpg
458.jpg

3.4 ตัวดำเนินการตรรกะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวดำเนินการบูลีน (Boolean) เป็นตัวดำเนินการที่ใช้ในการเปรียบเทียบเงื่อนไขตั้งแต่ 2 เงื่อนไขขึ้นไป

789.jpg
wp_Learn.jpg
ตัวอย่างการทำงานของตัวดำเนินการ
125.jpg

การประมวลผล

  • พิจารณา (2 < (1 * 3)) เมื่อหาค่าออกมาแล้วพบว่า 2 น้อยกว่า 3 ดังนั้น ถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด "จริง"

  • พิจารณา ((6 / 3) >= 10) เมื่อหาค่าออกมาแล้วพบว่า 2 มากกว่าหรือเท่ากับ 10 ดังนั้น ถือว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด "เท็จ"

  • จริง AND เท็จ จึงให้ค่า "เท็จ" ออกมา

126.jpg

การประมวลผล

  • พิจารณา (2 < (1 * 3)) เมื่อหาค่าออกมาแล้วพบว่า 2 น้อยกว่า 3 ดังนั้น ถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด "จริง"

  • พิจารณา ((6 / 3) >= 0) เมื่อหาค่าออกมาแล้วพบว่า 2 มากกว่าหรือเท่ากับ 0 ดังนั้น ถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด "จริง"

  • จริง AND จริง จึงให้ค่า "จริง" ออกมา

127.jpg

การประมวลผล

  • พิจารณา (8 == (2 * 4)) เมื่อหาค่าออกมาแล้ว พบว่า 8 มีค่าเท่ากับ 8 ดังนั้น เป็นไปตามที่เงื่อนไขกำหนด "จริง"

  • NOT จริง จึงให้ค่า "เท็จ" ออกมา

bottom of page