ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2564
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2564
ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2564
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2564
วิชา วิทยาการคำนวณ 2
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2566
วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 , 6 ภาคเรียนที่ 1/2566
พ.จ.ต.ศิริศักดิ์ วงษ์รักษา
กลุ่มสาระการรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนสีคิ้ว"สวัสดิ์ผดุงวิทยา"
อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 30140

บทที่ 2 การออกแบบขั้นตอนการทำงาน และการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python

การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือการออกแบบอัลกอริทึม เป็นการออกแบบลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ การใช้ภาษาธรรมชาติ การใช้รหัสจำลอง การใช้ผังงาน
การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม
สถานการณ์ : ถ้านักเรียนต้องการออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมคำนวณพื้นที่
รูปสี่เหลี่ยม โดยให้แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณทางหน้าจอ นักเรียนสามารถ
ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมใด ดังนี้
1. การออกแบบขั้นตอนการทำงานโดยใช้ภาษาธรรมชาติ (Natural Languagc) เป็นการ
บรรยายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมใด ๆ โดยใช้ภาษามนุษย์ที่เข้าใจง่าย เพื่ออธิบายลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมตามลำดับการทำงานก่อนหลัง
5 cm
ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)
1. เริ่มการทำงาน
2. นำเข้าข้อมูลความกว้างของรูปสี่เหลี่ยม
3. นำเข้าข้อมูลความยาวของรูปสี่เหลี่ยม
4. คำนวณฟื้นที่รูปสี่เหลี่ยม = ความกว้าง Xความยาว
5. แสดงผลพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
6. จบการทำงาน
4 cm
หากนำข้อมูลที่กำหนดมาแสดงผลจริง ดังนี้
-
เริ่มการทำงาน
-
นำเข้าข้อมูล ความกว้างรูปสี่เหลี่ยม (นำเข้า 4)
-
นำเข้าข้อมูล ความยาวรูปสี่เหลี่ยม (นำเข้า 5)
-
คำนวณพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม = ความกว้าง X ความยาว (พื้นที่ = 4X5)
-
แสดงผลรูปสี่เหลี่ยม (พื้นที่ = 20 แสดงผลลัพธ์ 20 ออกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์)
-
จบการทำงาน
2. การออกแบบขั้นตอนการทำงานโดยใช้รหัสจำลอง (Pscudo Code) เป็นรูปแบบ
ภาษาที่มีโครงสร้างที่ชัดเจนและกระชับ เพื่อใช้อธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม
ใด ๆ โดยไม่ขึ้นกับภาษาของโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง และสามารถแปลงรหัสจำลองเป็น
ภาษาคอมพิวเตอร์ได้ง่าย
รหัสจำลอง (pseudo code)
1. START
2. INPUT width
3. INPUT length
4. COMPUTE area = width * length
5. OUTPUT area
6. STOP
5 cm
4 cm
หากนำข้อมูลที่กำหนดมาแสดงผลจริง ดังนี้
-
Start
-
Input width (นำเข้า 4)
-
Input lenght (นำเข้า 5)
-
Compute area = width * length (area = 4X5) หรือ (พื้นที่ = 4X5)
-
Output area (area = 20) หรือ (แสดงผลลัพธ์ 20 ออกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์)
-
End
3. กรออกแบบชั้นตอนการทำงานโดยใช้ผังงาน (Flowchat) เป็นการใช้แผนภาพ
สัญลักษณ์เพื่อแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้ เพราะทำให้
เห็นภาพในการทำงนของโปรแกรมได้ง่าย และเมื่อมีข้อผิดพลาดสามารถตรวจสอบจาก
ผังงานได้ ซึ่งจะทำให้การแก้ไขหรือปรับปรุงโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น โดยสัญลักษณ์ที่ใช้
ในการออกแบบขั้นตอนการทำงานโดยใช้ผังงาน มีดังนี้

ดังนั้นเมื่อ นำสัญลักษณ์มาเขียนผังงานแสดงขั้นตอนการทำงานจะได้ดังรูป
3. ผังงาน (flowchart)
