top of page

3.4 การประยุกต์ใช้งานและการแก้ปัญหาเบื้องต้น

การนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้งานในชีวิตประจำวัน ทั้งในการทำงาน หรือใช้งานส่วนตัว ต้องมีการพิจารณาความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานดังนี้

  1. Super Computer

  2. Mainframe Computer

  3. Personal Computer

  4. Workstation Computer

  5. Wearable Computer

https_upload.wikimedia.orgwikipediacommo
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
EmbeddedImage (9).jpg

ลักษณะการใช้งาน : ใช้ในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการความละเอียดสูง และต้องการความเร็วสูง ทำให้มีรูปร่างขนาดใหญ่ มีน้ำหนักเยอะ เคลื่อนย้ายยาก และมีราคาสูงมาก

การใช้งาน : นำไปใช้งานที่ต้องการความละเอียดสูงและประมวลผลมีข้อมูลที่มีขนาดใหญ่โดยใช้เวลาให้น้อยลงเป็นหลัก เช่น ด้านการวิจัย ด้านอวกาศ ด้านการแพทย์ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนการพยากรณ์ หรือการเตือนภัยต่าง ๆ

เมนเฟรม (Mainframe Computer)
EmbeddedImage (10).jpg

ลักษณะการใช้งาน : มีความสามารถสูงในการรองรับข้อมูลจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมาตรการป้องกันที่ดี

การใช้งาน : ถูกนำไปใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ บริษัทประกันภัย

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)
EmbeddedImage (11).jpg

ลักษณะการใช้งาน : เป็นคอมพิวเตอร์ใช้งานส่วนบุคคล เหมาะสมสำหรับการประมวลผลข้อมูลขนาดปานกลาง หรือ ขนาดเล็ก มักจะถูกนำมาเป็นเครื่องประจำตัวของผู้ใช้งาน เช้น ที่บ้าน ที่ทำงาน เป็นต้น

การใช้งาน : เป็นการใช้งานได้หลากหลาย เช่น การพิมพ์งาน การเข้าเว็บไซต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ต้องมีผู้ใช้งานเพื่อคอยควบคุมการทำงาน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะเครื่องจะร้อนและทำให้อุปกรณ์บางส่วนเสียหาย

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)
EmbeddedImage (12).jpg

ลักษณะการใช้งาน : เป็นคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับการทำงานเฉพาะทางจึงทำให้การประมวลผลและการแสดงผลได้ดี ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง Personal Computer หรือ PC ทั่วไป

การใช้งาน : สามารถเปิดใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมงเน้นทางสายงานที่เฉพาะทางโดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปทางการประมวลผลด้าน Graphic เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรม นักเล่นเกมมืออาชีพ เป็นต้น

คอมพิวเตอร์แบบสวมใส่ (Wearable Computer)
EmbeddedImage (13).jpg

ลักษณะการใช้งาน : เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับตัวจับการเคลื่อนไหว เซ็นเซอร์ การค้นหาตำแหน่ง เป็นการประมวลผลที่ไม่ต้องการความซับซ้อนมาก แต่สามารถบันทึกข้อมูลหรือแสดงข้อมูลได้

การใช้งาน : เน้นการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือประจำตัวบุคคล เช่น นาฬิกาดิจิตอล Smart Watch สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต GPS แว่น VR เป็นต้น

ปัญหาและการแก้ไขการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์

ปัญหาการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยปัญหาการใช้งานคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

EmbeddedImage (14).jpg

1. ปัญหาด้านฮาร์ดแวร์

คือปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวอุปกรณ์ชำรุดหรือการทำงานที่ผิดปกติ โดยบางครั้งปัญหาอาจเกิดขึ้นจากตัวผู้ใช้เอง เช่น การปรับแต่งอุปกรณ์ในการทำงานเกินขีดจำกัด อุปกรณ์เสื่อมคุณภาพ หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุที่เราไม่คาดคิด เช่น ไฟตก ไฟฟ้าช็อต เป็นต้น

2. ปัญหาด้านซอฟต์แวร์

คือปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวโปรแกรมทำงานผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดปัญหาได้ทั้งตัวระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมทำงานทั่วไป เช่น ตัวซอฟต์แวร์อาจจะไม่สมบูรณ์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานไม่สามารถใช้บนระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งอยู่ได้ หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกไวรัสเข้าไปทำลาย

3. ปัญหาด้านผู้ใช้งาน

คือปัญหาที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้งาน เช่น การปรับแต่งอุปกรณ์ การลองผิดลองถูกในการใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ หรือการเผลอไปลบไฟล์ต่างๆของระบบหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้งานจนทำให้ซอฟต์แวร์นั้นใช้งานไม่ได้หรือไม่สมบูรณ์

การแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

1. การแก้ไขปัญหาด้านฮาร์ดแวร์

       เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเกิดมีปัญหา โดยเฉพาะในส่วนของฮาร์ดแวร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้ไฟฟ้า จึงควรให้ช่างหรือบุคคลที่มีความรู้และความชำนาญโดยเฉพาะ เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นกับฮาร์ดแวร์มากกว่าเดิมได้ ดังนั้นผู้ใช้งานควรจะแค่สำรวจหรือตรวจสอบ แทนที่จะลงมือซ่อมอุปกรณ์นั้นด้วยตนเอง

ตัวอย่างการแก้ปัญหาเบื้องต้น

เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์แล้วเครื่องไม่ทำงาน หรือเครื่องทำงานแต่หน้าจอไม่ติด

สาเหตุ : ไม่ได้ต่อสายไฟเข้ากับเต้าเสียบ ไม่ได้ต่อสายพ่วงระหว่างจอคอมพิวเตอร์กับตัวเครื่อง หรือสายไฟที่ต่อหลวงเกินไป

การแก้ไขปัญหา : ตรวจสอบการต่อสายไฟระหว่างตัวเครื่องกับเต้าเสียบ และสายพ่วงระหว่างตัวเครื่องกับจอคอมพิวเตอร์ว่าได้ต่อกันหรือไม่ถ้าต่อแล้วก็ให้ตรวจสอบดูว่าหลวมหรือไม่

เมื่อเปิดเครื่องแล้วได้ยินเสียง Beep หลายครั้ง

สาเหตุ : มีชิปที่ติดอยู่บนเมนบอร์ด หรืออุปกรณ์ที่เสียบอยู่บนเมนบอร์ดมีปัญหา เช่น การ์ดเสียบไม่แน่น การ์ดสกปรก Ram        มีปัญหา เป็นต้น

การแก้ไขปัญหา : สิ่งที่เกิดขึ้นจากภายในตัวเครื่องเมื่อผู้ใช้งานไม่มีความรู้ความชำนาญควรติดต่อช่างหรือผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะทางและแก้อาการที่เกิดขึ้นให้ครบถ้วนเพื่อหาทางแก้ไข

เปิดเครื่องติด แต่เมาส์กับคีย์บอร์ดใช้งานไม่ได้

สาเหตุ : เสียบสายเมาส์ หรือ คีย์บอร์ดไม่แน่น

การแก้ไขปัญหา : ตรวจสอบว่าเสียบสายแน่นหรือไม่ หากเป็นพอร์ตแบบ USB ให้ลองถอดแล้วเสียบใหม่ หรือ ตรวจสอบว่า เมาส์ หรือ คีย์บอร์ดเสีย หรือไม่

 

 

2. การแก้ไขปัญหาด้านซอฟต์แวร์เบื้องต้น

      1. กรณีที่พบปัญหาหลังจากการติดตั้งซอฟแวร์เสร็จเรียบร้อยแล้วโดยส่วนมากมักจะเกิดอาการติดตั้งไม่สมบูรณ์หรือติดตั้งเวอร์ชั่นของซอฟแวร์ไม่ตรง หรือ ไม่สามารถใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ได้ แนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้คือ ให้ผู้ใช้ที่มีความรู้ในการติดตั้งซอฟต์แวร์ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ทับลงไปใหม่ แต่หากยังพบปัญหาอยู่อีกอาจจะต้องทำการถอนการติดตั้ง Software ตัวนั้นออกจากตัวเครื่องและทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ตัวนั้นใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ในการติดตั้งซอฟต์แวร์จะต้องระมัดระวังเรื่องข้อมูลหาย ควรจะมีการสำรองข้อมูลเก็บไว้ก่อนทุกครั้งที่มีการติดตั้งซอฟต์แวร์ทับลงใหม่ หรือก่อนการถอนการติดตั้ง Software ตัวใดก็ตามออกจากเครื่อง

       2. กรณีที่พบปัญหาหลังจากการใช้งานซอฟแวร์มาสักระยะหนึ่ง ส่วนมากมักจะเกิดจากไฟล์ที่เป็นองค์ประกอบของซอฟต์แวร์นั้นมีปัญหา เช่น อาจจะเผลอลบไฟทิ้งไปหรือเกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคือต้องระมัดระวังการลบไฟล์และควรหาซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสมาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการแก้ไขปัญหาสุดท้าย คือ การสำรองข้อมูลและทำการถอนการติดตั้งจากนั้นก็ติดตั้งอีกรอบหนึ่ง

bottom of page